มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า javascript คืออะไร ทำงานอย่างไร เอาที่เข้าใจง่ายๆไม่วิชาการนะครับ
javascript คือ code ที่ทำงานหน้าบ้านให้กับเว็บ เปลี่ยนแปลงค่าต่างๆที่แสดงอยู่บนหน้าเว็บ ลองนึกภาพตามนะครับ หน้าเว็บมีการทำงานหลักๆอยู่ 3 ส่วน คือ
1. code html แสดงหน้าเว็บ
2. code css ตกแต่งหน้าเว็บ
3. javascript ปรับแต่งค่าต่างๆในเว็บ
ดังนั้นลำดับเวลา Load หน้าเว็บเพจคือ ดึงโค้ด html มาแสดงก่อน จากหน้าโหลด css มาแต่งให้ดูสวยงาม และสุดท้าย javascript และยังคง ทำงานเมื่อเรียกใช้จนปิดหน้าเว็บ ไม่ว่าจะเป็น event ต่างๆ ที่เกิดระหว่างแสดงหน้าเว็บอยู่
กลับมาที่ javascript มันง่ายมากไม่ยุ่งยากเหมือน ภาษาหลักๆ อย่าง c, c# , java , php มันสามารถเขียนได้ทั้งบนไฟล์เว็บ หรือแยกเป็นไฟล์ของมันเอง โดยมีนามสกุลเป็น .js นั่นคือมีลักษณะการใช้งานต่างกัน
ถ้าเป็น ไฟล์ .js คุณต้อง import มาใช้ในไฟล์ ด้วย แท็ก
<script src="/js/main.js" ></script>
แต่ถ้าจะเขียนในไฟล์ ส่วนใหญ่จะเขียนภายในแท็ก <head> โดยมีการสร้างแท็ก เปิด/ปิด แล้วเขียนโค้ดได้เลย
<script type="text/javascript" >
//ในนี้ ทั้งหมดคือ code javascript จัดเต็มได้เลย
</script>
เบื้องต้นไหมละ เอาแค่นี้ก่อนเดียวมึน ไปลองๆดูตัวอย่างโค้ดตามเว็บดู
เปิดเว็บแล้ว Ctrl + U
Coding by Waanvar
การฝึกเขียนโปรแกรม อธิบายการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน ขั้นฝึกหัด ตัวอย่างการ เขียนโปรแกรมเบื้องต้น ข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม และวิทยาการคอมพิวเตอร์
วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560
วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559
HashMap ทำงานอย่างไร และ วิธี edit value HashMap [Java]
HashMap มือใหม่ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ทำงานอย่างไร
HashMap ก็เหมือนกับกล่องใส่ของสักอย่างหนึ่ง เมื่อเราจะเก็บอะไรเราก็ใส่ของลงไปก็แค่นั้น เราเรียกใหม่ว่า ใส่ของ = put แต่เมื่อจะหยิบจับอะไรขึ้นมาใช้งานละก็ หยิบขึ้นมา = get ทั้งสองวิธีคือการใช้งานหลักๆของ HashMap แต่ต่างจาก List ทั่วไปที่ คุณจะเก็บของอะไรลงไป คุณต้องระบุป้ายกำกับแปะไว้ก่อนใส่ลงไป เพื่อให้เวลาหยิบจับมาใช้งานให้ดูป้ายกำกับเป็นหลัก นั่นคือข้อกำหนด ป้ายกำกับนี้ เรียกว่า key ดังนั้นเวลาจะใส่ (put) ค่าอะไรลงไป (value) ต้องระบุ key กำกับนั่นเอง
Example :
HashMap hashMap = new HashMap();
HashMap<String,String> hashMap2 = new HashMap<String,String>();
hashMap2.put("key1","Hello World");
String say = hashMap2.get("key1");
System.out.println(say); // Print out console "Hello World"
แล้วการวางของลงไป เราจะเอามา Edit ค่ามันยังไง ?
วิธีการคือ get ค่า key ขึ้นมาก่อน แล้วใส่ค่าใหม่ ลงใน key นั่นเลย ค่าก็จะถูกทับไป ลองนึกภาพว่า เราหยิบของขึ้นมาจากกล่อง แล้วดึงป้ายกำกับออกจากอันเก่าไปแปะอันใหม่ แล้ววางลงไปในกล่องเหมือนเดิม key นั้นก็จะได้ค่าใหม่ละเรียบร้อย
Example :
HashMap<String,String> hashMap = new HashMap<String,String>();
hashMap.put("key1","Hello World");
System.out.println(hashMap.get("key1");
/* do code something */
hashMap.put("key1","Hello Thailand");
System.out.println(hashMap.get("key1");
HashMap ก็เหมือนกับกล่องใส่ของสักอย่างหนึ่ง เมื่อเราจะเก็บอะไรเราก็ใส่ของลงไปก็แค่นั้น เราเรียกใหม่ว่า ใส่ของ = put แต่เมื่อจะหยิบจับอะไรขึ้นมาใช้งานละก็ หยิบขึ้นมา = get ทั้งสองวิธีคือการใช้งานหลักๆของ HashMap แต่ต่างจาก List ทั่วไปที่ คุณจะเก็บของอะไรลงไป คุณต้องระบุป้ายกำกับแปะไว้ก่อนใส่ลงไป เพื่อให้เวลาหยิบจับมาใช้งานให้ดูป้ายกำกับเป็นหลัก นั่นคือข้อกำหนด ป้ายกำกับนี้ เรียกว่า key ดังนั้นเวลาจะใส่ (put) ค่าอะไรลงไป (value) ต้องระบุ key กำกับนั่นเอง
Example :
HashMap hashMap = new HashMap();
HashMap<String,String> hashMap2 = new HashMap<String,String>();
hashMap2.put("key1","Hello World");
String say = hashMap2.get("key1");
System.out.println(say); // Print out console "Hello World"
แล้วการวางของลงไป เราจะเอามา Edit ค่ามันยังไง ?
วิธีการคือ get ค่า key ขึ้นมาก่อน แล้วใส่ค่าใหม่ ลงใน key นั่นเลย ค่าก็จะถูกทับไป ลองนึกภาพว่า เราหยิบของขึ้นมาจากกล่อง แล้วดึงป้ายกำกับออกจากอันเก่าไปแปะอันใหม่ แล้ววางลงไปในกล่องเหมือนเดิม key นั้นก็จะได้ค่าใหม่ละเรียบร้อย
Example :
HashMap<String,String> hashMap = new HashMap<String,String>();
hashMap.put("key1","Hello World");
System.out.println(hashMap.get("key1");
/* do code something */
hashMap.put("key1","Hello Thailand");
System.out.println(hashMap.get("key1");
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559
เริ่มต้นทำ เว็บไซต์ อย่างไร
เมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ ให้กับธุรกิจเรา หรือต้องการนำเสนอเรื่องราวบางอย่างผ่านเว็บไซต์ ให้คนเข้าชมผ่านโลกออนไลน์ ทุกวันนี้ทำได้ไม่ยากเลย เนื่องจากมีบริษัทรับทำเว็บไซต์เยอะแยะมากมาย ให้เราเลือกได้ตามต้องการ แต่สิ่งที่เราต้องคิดก่อนทำนั้นสำคัญกว่า คือเราจะทำ Content ลักษณะไหน จุดประสงค์หลักของการทำเว็บไซต์ เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ
จุดประสงค์ของการทำเว็บไซต์ คิดจุดประสงค์ของการทำเว็บไซต์ก่อนเริ่มแรก ว่าต้องการทำเว็บไซต์ลักษณะไหน เช่น ทำเว็บไซต์ขายสินค้า ทำเว็บไซต์เสนอสินค้า ทำเว็บไซต์เล่าเรื่องราวธุรกิจ ทำเว็บไซต์สร้างความน่าเชื่อถือ เป็นต้น เพื่อที่เราจะได้รวบรวมข้อมูลสิ่งที่เว็บไซต์ต้องการ ก่อนที่จะสร้างมันออกมา
กำหนดกลุ่มเป้าหมาย แน่นอนว่า เมื่อเราสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว ต่อมาคือกลุ่มเป้าหมายที่เว็บไซต์ต้องการนำเสนอ จากจุดประสงค์หลักของเรา ต้องกำหนดแล้วว่าเป้าหมายผู้เข้าชมเว็บไซต์คือใคร บุคคลกลุ่มใด เช่น เว็บไซต์ขายสินค้า ต้องการขายสินค้าให้กับลูกค้าออนไลน์ผ่านหน้าเว็บ เว็บไซต์ของบริษัทต้องการนำเสนอความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้ากลุ่มผู้ลงทุน เป็นต้น ซึ่งถ้าเรากำหนดกลุ่มเป้าหมายได้เจาะจง นั่นจะทำให้เว็บไซต์เราตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
เนื้อหาของเว็บไซต์ เนื้อหาของเราที่จะต้องมีบนเว็บไซต์ เพื่อนำเสนอกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น ควรเตรียมให้พร้อม และตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่จะเข้าชมเว็บไซต์ ซึ่ง Content เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญ เมื่อมีคนเข้าชมเว็บไซต์เราแล้ว เราจะแบ่งส่วนเนื้อหาเป็นลักษณะไหน ที่ผู้เข้าชมจะสนใจและติดตาม การแบ่งหมวดหมู่ การจัดเรียงเนื้อหา ให้ผู้เข้าชมเข้าถึงเนื้อหาที่เขาต้องการ
3 ส่วนแรกที่ต้อง คิดก่อนเริ่มทำเว็บไซต์ จากนั้นหาบริษัทจัดจ้าง แล้วคุยเรื่อง design การทำเว็บไซต์ต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ตัวแปร คือ พื้นที่บน memory
ตัวแปร คือ พื้นที่บน memory
ตัวแปร คือ พื้นที่บน memory
ท่องไว้ก่อน เขียนโปรแกรม ยิ่งใช้เยอะ ขนาดการทำงานบนพื้นที่แรมยิ่งมากขึ้น แล้วจะได้ไม่บ่นทีหลังว่า "เอ้ย โปรแกรมนี้กินแรมเยอะจัง"
ตอนหัดเรียน คิดไว้ก่อน มันใช้ไม่ค่อยเยอะ แต่พอทำงานแล้ว ควรคำนึงถึง เพื่อ Performance ที่ดีต่อทุกส่วน Code ระบบหนึ่งๆ ใช้ตัวแปรเยอะ และซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆแล้วแต่ขนาดระบบ เลยต้องคิดเผื่อรอไว้เลย เดียวเขียนโปรแกรมเพลิน อย่ารู้ตัวเมื่อสาย กลับมาแก้โค้ดนี่ยากกว่าเขียนใหม่นะ ยากเรื่องระวังบั๊กนี่แหละ
สุดท้าย อย่าลืมคืนพื้นที่บน Memory กลับ ทำลายตัวแปรนั้นทิ้งซะ ถ้าไม่ได้ใช้ ให้ Gabage เครื่องจัดการเอาไปทิ้งแล้ว คืนพื้นที่กลับมา เพื่อไปทำงานอื่นต่อไป ไม่งั้นนะ สะสมเพิ่ม เพิ่ม บวม สุดท้าย Down จบ!
ตัวแปร คือ พื้นที่บน memory
ท่องไว้ก่อน เขียนโปรแกรม ยิ่งใช้เยอะ ขนาดการทำงานบนพื้นที่แรมยิ่งมากขึ้น แล้วจะได้ไม่บ่นทีหลังว่า "เอ้ย โปรแกรมนี้กินแรมเยอะจัง"
ตอนหัดเรียน คิดไว้ก่อน มันใช้ไม่ค่อยเยอะ แต่พอทำงานแล้ว ควรคำนึงถึง เพื่อ Performance ที่ดีต่อทุกส่วน Code ระบบหนึ่งๆ ใช้ตัวแปรเยอะ และซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆแล้วแต่ขนาดระบบ เลยต้องคิดเผื่อรอไว้เลย เดียวเขียนโปรแกรมเพลิน อย่ารู้ตัวเมื่อสาย กลับมาแก้โค้ดนี่ยากกว่าเขียนใหม่นะ ยากเรื่องระวังบั๊กนี่แหละ
สุดท้าย อย่าลืมคืนพื้นที่บน Memory กลับ ทำลายตัวแปรนั้นทิ้งซะ ถ้าไม่ได้ใช้ ให้ Gabage เครื่องจัดการเอาไปทิ้งแล้ว คืนพื้นที่กลับมา เพื่อไปทำงานอื่นต่อไป ไม่งั้นนะ สะสมเพิ่ม เพิ่ม บวม สุดท้าย Down จบ!
ป้ายกำกับ:
คืนพื้นที่ตัวแปร,
คืนหน่วยความจำ,
ตัวแปร,
Gabage,
memory,
Performance,
ram,
variable
วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
Java call procedure example
CallableStatement cstmt = conn.prepareCall("call p_example(?,?,?)");
cstmt.setString(1,keyId);
cstmt.registerOutParameter(2, OracleTypes.VARCHAR);
cstmt.registerOutParameter(3, OracleTypes.VARCHAR);
cstmt.execute();
String status = (String) cstmt.getObject(2);
String message = (String) cstmt.getObject(3);
System.out.println(status + " : " + message);
cstmt.setString(1,keyId);
cstmt.registerOutParameter(2, OracleTypes.VARCHAR);
cstmt.registerOutParameter(3, OracleTypes.VARCHAR);
cstmt.execute();
String status = (String) cstmt.getObject(2);
String message = (String) cstmt.getObject(3);
System.out.println(status + " : " + message);
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559
บทความนี้ เสนอเรื่อง Loop
เรื่อง Loop หรือการวนซ้ำนั้น เข้าใจง่ายๆคือ การทำอะไรซ้ำๆเดิม โดยที่มีบางสิ่งเปลี่ยนแปลงไป เช่น วินมอเตอร์ไซค์ รับคน ไปส่ง กลับมารับคน ไปส่ง กลับมารับคน ไปส่ง ถึงเย็นเลิกกลับบ้าน เป็นต้น จากตัวอย่างสิ่งที่วนซ้ำคือ มอเตอร์ไซค์วิน ส่วนสิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ ผู้โดยสาร น้ำมัน เงินในกระเป๋า และขึ้นตามจำนวนรอบนั่นเอง เข้าใจป่าวหว่า 55
ดังนั้น การวนไปมานี่แหละ ในโปรแกรมเขาบอกว่าแบบนี้ วนซ้ำแบบรู้จำนวนรอบที่แน่นอน กับ วนซ้ำแบบจำนวนรอบไม่แน่นอน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขนั่นเอง บทความนี้จะไม่เสนอรูปแบบภาษาใดภาษาหนึ่งเพราะมีทุกภาษา(ภาษาโปรแกรมนะ)
วนซ้ำแบบรู้จำนวนรอบที่แน่นอน
การวนซ้ำในรูปแบบนี้ จะต้องทราบจำนวนรอบก่อนอันดับแรก เพื่อทำการวนซ้ำตามจำนวนรอบ แน่นอนว่าต้องกำหนด หรือได้มา หรือส่งมา หรือให้ได้ค่ารอบก่อนทุกครั้ง เช่น เดือน มันมี 12 เดือนแน่นอน ในหนึ่งปี รอบก็คือ 12 ใน 1 ปี แต่ละเดือนจะทำอะไรก็แล้วแต่ วนอยู่นั่นแหละ 12 รอบ ยกตัวอย่างโจทย์นิดนึง "รวมรายได้ของแต่ละเดือนใน 1 ปี" หรือระบุเดือน หรือจำนวนรอบเลย ยกตัวอย่างโจทย์ "หาค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของแต่ละเดือนย้อนหลัง 6เดือน"
วนซ้ำแบบจำนวนรอบไม่แน่นอน
ความไม่แน่นอนคือความไม่แน่นอน คิดไว้เลยว่าวนซ้ำแบบนี้แล้วแต่เงื่อนไข เรียกพี่วินด้านบนลงมายกตัวอย่างให้ดู พี่วินแกขับมอไซค์วนอยู่ในแต่ละวันไม่เท่ากัน ทำไมอะหรอ จำนวนผู้โดยสารไม่แน่นอน นั่นคือรอบตามผู้โดยสาร และรายได้ก็ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ไปส่ง ต่อมากำลังรอผู้โดยสารอยู่มีเบอร์โทรจากร้านกาแฟว่าจ้างให้ไปส่งกาแฟที่ออฟฟิศแห่งหนึ่งโดยได้รับค่าจ้างจำนวนหนึ่ง การวนซ้ำก็พักไป ถามว่าเลิกไหมก็ยังหรือแล้วแต่พี่วิน วันนี้อาจทำยอดถึงแล้วเลิกวิ่งก็ได้ หรือกลับไปวิ่งต่อด้วยความขยัน สิ่งที่เพิ่มจากรอบส่งกาแฟคือเงินที่อาจได้เยอะกว่าส่งผู้โดยสาร จะเห็นแล้วแต่เงินไข และทำไมมันเยอะจัง(55) พอช่วงบ่ายๆฝนตกซะงั้น อ้าวซวยละ กลับๆไปหาลูกเมียดีกว่า การวนซ้ำถูกยกเลิกเพราะฝนตก แทนที่จะวิ่งถึงเย็นก็ไม่ใช่ละ เห็นไหมเงื่อนไขพี่วินกับการวนซ้ำ นี่แหละเรียกว่า การวนซ้ำแบบไม่แน่นอน ตีโจทย์ไม่ออกละนอนแน่
คร่าวๆ อยากให้เสริมตรงไหนก็บอกมานะ ^^
ดังนั้น การวนไปมานี่แหละ ในโปรแกรมเขาบอกว่าแบบนี้ วนซ้ำแบบรู้จำนวนรอบที่แน่นอน กับ วนซ้ำแบบจำนวนรอบไม่แน่นอน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขนั่นเอง บทความนี้จะไม่เสนอรูปแบบภาษาใดภาษาหนึ่งเพราะมีทุกภาษา(ภาษาโปรแกรมนะ)
วนซ้ำแบบรู้จำนวนรอบที่แน่นอน
การวนซ้ำในรูปแบบนี้ จะต้องทราบจำนวนรอบก่อนอันดับแรก เพื่อทำการวนซ้ำตามจำนวนรอบ แน่นอนว่าต้องกำหนด หรือได้มา หรือส่งมา หรือให้ได้ค่ารอบก่อนทุกครั้ง เช่น เดือน มันมี 12 เดือนแน่นอน ในหนึ่งปี รอบก็คือ 12 ใน 1 ปี แต่ละเดือนจะทำอะไรก็แล้วแต่ วนอยู่นั่นแหละ 12 รอบ ยกตัวอย่างโจทย์นิดนึง "รวมรายได้ของแต่ละเดือนใน 1 ปี" หรือระบุเดือน หรือจำนวนรอบเลย ยกตัวอย่างโจทย์ "หาค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของแต่ละเดือนย้อนหลัง 6เดือน"
วนซ้ำแบบจำนวนรอบไม่แน่นอน
ความไม่แน่นอนคือความไม่แน่นอน คิดไว้เลยว่าวนซ้ำแบบนี้แล้วแต่เงื่อนไข เรียกพี่วินด้านบนลงมายกตัวอย่างให้ดู พี่วินแกขับมอไซค์วนอยู่ในแต่ละวันไม่เท่ากัน ทำไมอะหรอ จำนวนผู้โดยสารไม่แน่นอน นั่นคือรอบตามผู้โดยสาร และรายได้ก็ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ไปส่ง ต่อมากำลังรอผู้โดยสารอยู่มีเบอร์โทรจากร้านกาแฟว่าจ้างให้ไปส่งกาแฟที่ออฟฟิศแห่งหนึ่งโดยได้รับค่าจ้างจำนวนหนึ่ง การวนซ้ำก็พักไป ถามว่าเลิกไหมก็ยังหรือแล้วแต่พี่วิน วันนี้อาจทำยอดถึงแล้วเลิกวิ่งก็ได้ หรือกลับไปวิ่งต่อด้วยความขยัน สิ่งที่เพิ่มจากรอบส่งกาแฟคือเงินที่อาจได้เยอะกว่าส่งผู้โดยสาร จะเห็นแล้วแต่เงินไข และทำไมมันเยอะจัง(55) พอช่วงบ่ายๆฝนตกซะงั้น อ้าวซวยละ กลับๆไปหาลูกเมียดีกว่า การวนซ้ำถูกยกเลิกเพราะฝนตก แทนที่จะวิ่งถึงเย็นก็ไม่ใช่ละ เห็นไหมเงื่อนไขพี่วินกับการวนซ้ำ นี่แหละเรียกว่า การวนซ้ำแบบไม่แน่นอน ตีโจทย์ไม่ออกละนอนแน่
คร่าวๆ อยากให้เสริมตรงไหนก็บอกมานะ ^^
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
การเขียนโปรแกรมแบบง่ายดียังไง
ไม่ได้เขียนบล็อกนานละ ^^
ยุคสมัยเปลี่ยนไป การพัฒนาวิธีเขียนโปรแกรมก็มีออกมาใหม่เรื่อยๆ ถามว่าผมเป็นคนยุคก่อนไปแล้วหรอ ตอบเลยว่าใช่ ทุกวันนี้ต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ๆมากมาย แต่พื้นฐานก็มาจากที่เดียวกัน แต่ถูกทำให้สะดวกแก่คนเขียนโปรแกรม ลดความยุ่งยาก(ซึ่งบางทียุ่งยากมาก) ลดระยะเวลาในการเขียนโปรแกรม ลดerror(เขาว่างั้นนะ)
แต่ที่ผมยังทำทุกวันนี้คือเขียนโค้ดง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าถึงได้ แต่อาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำออกมาได้ผลลัพธ์เท่ากัน ถึงโค้ดจะเยอะกว่า แต่ปัญหาที่ผมเจอเมื่อใช้วิธีการใหม่ๆ(framework ใหม่ๆ)คือ error bug หากันขี้แตก อีกอย่างคือหาวิธีเขียนตามใจอยากทำเลย กว่าจะได้ก็พักใหญ่ๆนะบางที ซึ่งคนเขียนโปรแกรมน่าจะรู้กันดีว่า เราจะมีโจทย์ใหม่ๆมาให้เขียนโปรแกรมเสมอ ซึ่งผมเขียนแบบเบสิกนี่ นึกอะไรออกไหลลงนิ้วเลย ทำได้เลยเดี๋ยวนั้น ทำให้งานไม่ late อื้ออึง มัวแต่เรียนรู้ ผมคิดว่างานบางทีมันก็รีบนะ เพราะคุณ user เขาไม่รู้ว่าเราทำอะไร วิธีอะไร ยังไง เขาขอแค่ งานของเขา ดำเนินไปได้สวย เช่นกัน วิธีการใหม่ เรียนรู้ไว้ไม่เสียหาย ลดต้นทุน ลดระยะเวลาได้เยอะ อาจตอบโจทย์โปรเจคใหม่ๆได้ดีเช่นกัน แต่ถ้าคุณพื้นฐานแน่น ยังไงก็ได้ ว่าไหม ^^
ยุคสมัยเปลี่ยนไป การพัฒนาวิธีเขียนโปรแกรมก็มีออกมาใหม่เรื่อยๆ ถามว่าผมเป็นคนยุคก่อนไปแล้วหรอ ตอบเลยว่าใช่ ทุกวันนี้ต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ๆมากมาย แต่พื้นฐานก็มาจากที่เดียวกัน แต่ถูกทำให้สะดวกแก่คนเขียนโปรแกรม ลดความยุ่งยาก(ซึ่งบางทียุ่งยากมาก) ลดระยะเวลาในการเขียนโปรแกรม ลดerror(เขาว่างั้นนะ)
แต่ที่ผมยังทำทุกวันนี้คือเขียนโค้ดง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าถึงได้ แต่อาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำออกมาได้ผลลัพธ์เท่ากัน ถึงโค้ดจะเยอะกว่า แต่ปัญหาที่ผมเจอเมื่อใช้วิธีการใหม่ๆ(framework ใหม่ๆ)คือ error bug หากันขี้แตก อีกอย่างคือหาวิธีเขียนตามใจอยากทำเลย กว่าจะได้ก็พักใหญ่ๆนะบางที ซึ่งคนเขียนโปรแกรมน่าจะรู้กันดีว่า เราจะมีโจทย์ใหม่ๆมาให้เขียนโปรแกรมเสมอ ซึ่งผมเขียนแบบเบสิกนี่ นึกอะไรออกไหลลงนิ้วเลย ทำได้เลยเดี๋ยวนั้น ทำให้งานไม่ late อื้ออึง มัวแต่เรียนรู้ ผมคิดว่างานบางทีมันก็รีบนะ เพราะคุณ user เขาไม่รู้ว่าเราทำอะไร วิธีอะไร ยังไง เขาขอแค่ งานของเขา ดำเนินไปได้สวย เช่นกัน วิธีการใหม่ เรียนรู้ไว้ไม่เสียหาย ลดต้นทุน ลดระยะเวลาได้เยอะ อาจตอบโจทย์โปรเจคใหม่ๆได้ดีเช่นกัน แต่ถ้าคุณพื้นฐานแน่น ยังไงก็ได้ ว่าไหม ^^
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Write texture on image java
Try this following code :
import java.awt.Graphics;
import java.awt.image.BufferedImage;
import java.io.File;
import java.net.URL;
import javax.imageio.ImageIO;
public class ImageTexture {
public static void main(String[] args) throws Exception {
final BufferedImage image = ImageIO.read(new File("C:\\Users\\wannavar\\Pictures\\1234.jpg"));
Graphics g = image.getGraphics();
g.setFont(g.getFont().deriveFont(30f));
g.setColor(g.getColor().GREEN);
g.drawString("Mhee Khow", 50, 50);
g.dispose();
ImageIO.write(image, "png", new File("C:\\Users\\wannavar\\Pictures\\4321.jpg"));
}
}
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วงจรชีวิตโดเมนเนม (Domain Name Life Cycle)
วงจรชีวิตของโดเมนเนม แสดงรายละเอียดต่างๆ ของโดเมนเนม รวมทั้งวันที่เริ่มจดโดเมนเนม วันที่หมดอายุโดเมน โดเมนสถานะใดบ้างที่เราสามารถจดได้
รายละเอียดสถานะโดเมนเนม
เริ่มจาก สถานะ Available สถานะนี้ คือ โดเมนเนมนี้ยังว่างอยู่ คุณสามารถจดโดเมนเนมชื่อนี้ได้ (โดเมนว่าง)
รายละเอียดสถานะโดเมนเนม
เริ่มจาก สถานะ Available สถานะนี้ คือ โดเมนเนมนี้ยังว่างอยู่ คุณสามารถจดโดเมนเนมชื่อนี้ได้ (โดเมนว่าง)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)